OEM และ ODM คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?
OEM และ ODM คืออะไร ในยุคที่นักธุรกิจหน้าใหม่เกิดได้ง่ายขึ้น การสร้างแบรนด์สินค้าประเภทอาหารเสริมได้รับความนิยม เพราะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมีโรงงานรับผลิตอาหารเสริมครบวงจร พร้อมที่จะรองรับงานในส่วนนั้นอย่างพร้อมสรรพ นักธุรกิจหน้าใหม่เพียงมีทุน มีไอเดีย ก็สามารถเป็นเจ้าของ แบรนด์อาหารเสริมได้สมใจ ในแง่ของโรงงานรับผลิตอาหารเสริมครบวงจรเองนั้นก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากยิ่งขึ้นพร้อมๆ กับสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของตัวเองไปในตัว ในรูปแบบการทำงาน โดยเฉพาะในส่วนของโรงงานที่รับผลิตอาหารเสริมนั้น จะปรากฏคำสองคำที่แพร่หลาย ที่มีคำเรียกย่อๆ ว่า OEM ODM คำทั้งสองคำนี้ คืออะไร และมีความต่างกันอย่างไร ลองมาดูกันว่า OEM และ ODM คืออะไร
OEM คืออะไร
คำว่า OEM นั้น ย่อมาจากคำว่า Original Equipment Manufacturer ลักษณะของโรงงานที่รับผลิตสินค้าแบบนี้ก็คือ โรงงานมีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอยู่แล้ว และรับผลิตสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อนำไปติดแบรนด์ที่มีอยู่แล้วของลูกค้า ในลักษณะนี้ เช่น ลูกค้ามีแบรนด์ที่แข็งแรงแล้วในตลาด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อะไร หรือแม้แต่อะไหล่รถยี่ห้อดัง สมาร์ทโฟน ก็อาจจะพึ่งโรงงานประเภทนี้ โรงงานประเภทนี้มักมีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีเครื่องหมายรับรอง เชื่อถือได้ในเรื่องของคุณภาพที่แบรนด์ดังไว้วางใจ
ODM คืออะไร
ODM เป็นคำย่อของ Original Design Manufacturer โรงงานแบบนี้ มักจะมีพัฒนาขึ้นมาจากแบบ OEM กล่าวคือ เป็นโรงงานที่มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หากเป็นการผลิตอาหารเสริม หรือเครื่องสำอาง ก็มีการคิดค้น ทำวิจัย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพและจุดเด่นที่แตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่เดิมในท้องตลาด การคิดพัฒนานั้น มีการทดลอง ทดสอบประสิทธิภาพ และเป็นสูตรที่ลงตัว มีมาตรฐานของตัวเอง อีกทั้งมีความพร้อมในการให้บริการครบวงจร อย่างที่โรงงานรับผลิตอาหารเสริมครบวงจร นิยมทำกัน กล่าวคือ นอกจากผลิตแล้ว ยังรับออกแบบทั้งโลโก้ ฉลากสินค้า อีกทั้งจัดหาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะและสวยงาม ถูกใจตลาด รวมถึงจดทะเบียน อย. กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ครบวงจรเพื่อลูกค้าที่มาใช้บริการผลิตเพื่อสร้างแบรนด์จะได้สะดวก และได้สินค้ารวดเร็ว มีเอกลักษณ์เฉพาะ
ความแตกต่างของ OEM และ ODM
1. OEM เป็นการทำงานผลิตของโรงงานที่รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ตามสูตรการผลิตของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปติดแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้วของตัวเอง ส่วน ODM เป็นโรงงานที่มีรูปแบบการผลิตที่มีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อนำเสนอแก่ลูกค้า
2. OEM เป็นการทำงานผลิตแบบรับจ้าง ไม่ต้องมีความเสี่ยง เพราะเป็นการรับจ้างผลิต ส่วน ODM แม้จะต้องรับความเสี่ยงและลงทุนเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง เพราะต้องทดลองและทดสอบผลิตภัณฑ์ แต่ก็นับเป็นความก้าวหน้าของธุรกิจ
หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic