ความรับผิดชอบต่อสังคม

เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นวางแผนการป้องกัน ควบคุมมลภาวะที่เกิดจากโรงงานผลิตเครื่องสำอาง และขอบเขตการดำเนินงานของบริษัท ILC ทั้งหมด ให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุดต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมกับปลูกจิตสำนึกแก่บุคลากรในองค์กรให้ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ประหยัดพลังงาน และจัดกิจกรรมช่วยเหลือ สร้างสรรค์ประโยชน์กลับคืนสู่สังคมอีกมากมายอยู่เสมอ

ความรับผิดชอบต่อสังคม

ILC  ร่วมใจสร้างหลังคาบ่ออนุบาลเต่าทะเล  จังหวัดพังงา

  • เมื่อวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2566 บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์  จำกัด ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ และกรมทรัพยากรชายฝั่งทะเลที่ 2 เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา สร้างหลังคาบ่ออนุบาลเต่าทะเล และปรับปรุงบ่อเต่า
  • เต่าทะเลที่ออกจากไข่กลับสู่ท้องทะเลโดยธรรมชาติ ไม่สามารถชดเชยประชากรเต่าในธรรมชาติได้เนื่องจากอัตราการรอดของลูกเต่าทะเลในธรรมชาติน้อยมาก และลดจํานวนลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกล่าจับหรือติดไปกับเครื่องมือทําการประมง  ILC เราเป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นแรงผลักดันสังคมในการอนุรักษ์เต่าทะเลโดยการเลี้ยงเต่าในกระชังเพื่อให้เติบโตและแข็งแรงพอที่จะออกไปผจญภัยในท้องทะเลได้ ทำให้อัตราการรอดชีวิตของเต่าทะเลมากขึ้นด้วย
  • ลักษณะการเลี้ยงโดยจะอนุบาลในบ่ออนุบาล 3 เดือนแล้วย้ายไปเลี้ยงต่อในกระชัง อีก 9 เดือน เพื่อให้เต่าทะเลได้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมในทะเลโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเหมือนในบ่อเลี้ยง  
  • การอนุรักษ์ที่ถูกต้องและได้ผลในระยะยาว คือการดูแลสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัย ตลอดจนแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เป็นพื้นที่ควบคุมไม้ให้เกิดการบุกรุก การวางไข่ของเต่าทะเลได้มีโอกาสขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติต่อไป
ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19
ความรับผิดชอบต่อสังคม

ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19 ส่งมอบ เจลแอลกอฮอล์ Honei V BSC จำนวน 50,000 ชิ้น

28 ตุลาคม 2564   ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19  ส่งมอบ เจลแอลกอฮอล์ Honei V BSC  จำนวน 50,000 ชิ้น

เจลแอลกอฮอล์ Honei V BSC

มูลกว่า 2,450,000 บาท ให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5  โดยมี พลเอก รังสี  กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นผู้รับมอบ  เพื่อส่งต่อให้ ททบ.5 เป็นสื่อกลางในการนำไปมอบให้กับชุมชน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

Honei V BSC,ช่อง 5

ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19
ความรับผิดชอบต่อสังคม

ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19

ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19 บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด  มอบเจลแอลกอฮอล์ให้กับ สภากาชาดไทย ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์  โรงพยาบาลกลาง  โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา และเรือนจำพิเศษธนบุรี เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และผู้ต้องขังในเรือนจำ เพื่อร่วมกันดูแลและช่วยเหลือสังคมให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ไปด้วยกัน ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19

ILC มอบเจลแอลกอฮอล์ให้กับ สภากาชาดไทย
18.5.64 สภากาชาดไทย = 30,000 ชิ้น
ILC มอบเจลแอลกอฮอล์ให้โรงพยาบาลกลาง
20.5.64 โรงพยาบาลกลาง = 1,613 ชุด
v,ILC มอบเจลแอลกอฮอล์ให้เรือนจำพิเศษธนบุรี
20.5.64 เรือนจำพิเศษธนบุรี = 450 ชิ้น
ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19,ILC มอบเจลแอลกอฮอล์ให้รพ.ทัณฑสถาน
20.5.64 ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ = 4,600 ชิ้น

รับมอบโล่จากกระทรวงศึกษา
ความรับผิดชอบต่อสังคม

ILCรับมอบโล่จากกระทรวงศึกษาธิการ

บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด (ILC) รับมอบโล่เชิดชูเกียรติ จากกระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project 100% โดยทาง ILC ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับโรงเรียนวัดศรีวารีน้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปสู่ความสำเร็จ

วันที่ 28 กันยายน 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นประธานพิธีลงนามโครงการความร่วมมือ“โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project 100%”และมอบโล่เชิดชูเกียรติให้ผู้แทนองค์กร พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู เข้าร่วมในพิธี ณ มหาวิทยาลัยราชฏัภธนบุรี สมุทรปราการ

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศธ. กล่าวว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายใต้บทบาทความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และบริษัท มูลนิธิ องค์กร หรือสถาบัน ที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารกับสถานศึกษา ซึ่งเป็นส่วนขยายของโรงเรียนประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ใน

เป้าหมายการพัฒนา 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 
1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 
2) การพัฒนาครู 
3) การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 
4) การพัฒนาคุณภาพการบริหาร 
เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลมอบให้กระทรวงศึกษาธิการนำไปขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับจังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีความเติบโตด้านเศรษฐกิจ เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านั้นก็ให้ความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับทุกองค์กรในจังหวัดได้ให้ความสำคัญการศึกษามาโดยตลอด ทั้งองค์กรทางศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกภาคส่วน โดยมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ขอชื่นชมจังหวัดสมุทรปราการที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายนี้ ได้ 100% เป็นจังหวัดแรก ขอขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในจังหวัดสมุทรปราการทุกท่าน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง

ด้านนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เป็นนโยบายของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนพัฒนาเต็มตัวและสามารถบริหารจัดการโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเตรียมความพร้อมผู้เรียนสำหรับอนาคต พร้อมกับพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาภายใต้ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และชุมชน

ทั้งนี้ จังหวัดสมุทรปราการมีสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 168 แห่ง มีแนวทางการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยเปิดโอกาสให้ องค์กรทางศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาโรงเรียนให้มีความพร้อมในทุกด้าน ด้านอาคารสถานที่มุ่งเน้นให้มีความเพียงพอสำหรับบริการ ทั้งนักเรียนและชุมชน ด้านการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีทักษะทางวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และมีทักษะชีวิต สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังมีองค์กรทางศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนกว่า 10,000 แห่ง ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยการประสานงานของอำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 3 เขต และผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน ทุกโรงเรียน เกิดการมีส่วนร่วมในทุกพื้นที่ ทุกโรงเรียน โดยเป็นจังหวัดแรกที่สามารถขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาได้ครบ 100%

ดังนั้น เพื่อเป็นการขอบคุณ ยกย่องเชิดชูเกียรติและให้การดำเนินงานเกิดความยั่งยืน จึงจัดให้มีพิธีมอบโล่และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ จำนวน 656 องค์กร ได้แก่ องค์กรทางศาสนา จำนวน 65 รูป องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 41 แห่ง ภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ จำนวน 287 แห่ง บุคคลผู้ให้การสนับสนุน จำนวน 232 คน และหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 31 องค์กร พร้อมทั้งถวายโล่แด่ตัวแทนองค์กรทางศาสนา จำนวน 5 รูป และมอบโล่ให้แก่ตัวแทนองค์กร จำนวน 45 องค์กร โดยนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)

ขณะที่นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการมี 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง ซึ่งทางจังหวัดได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมากกว่า 10,000 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ องค์กรทางศาสนา ก็ได้ให้การสนับสนุนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายมาโดยตลอด ในรูปแบบ “บวร” คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project และประกาศให้จังหวัดสมุทรปราการเข้าร่วมโครงการครบทุกโรงเรียน นับว่าเป็นโอกาสอันดีของเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการจะได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

ที่มา: ประชาสัมพันธ์ สพฐ., ศธ.360องศา พัฒนาการศึกษาไปด้วยกัน

ภาพ : อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

จ้างงานคนพิการ
ข่าวสาร, ความรับผิดชอบต่อสังคม

ILC สนับสนุนการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม

บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด (ILC)  รับมอบใบประกาศเกียรติคุณ “ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ประจำปี 2562 ส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงโอกาสงานและอาชีพในภูมิลำเนา มีรายได้เพื่อการพึ่งพาตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม “  

ILC มุ่งมั่นประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน รวมถึงสนับสนุนการเข้าร่วมเครือข่ายภาคประชาคม เฝ้าติดตามและการมีส่วนร่วมทางสังคม

ประกาศนียบัตร สนับสนุนสนับสนุนการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม

ILC สนับสนุนการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ให้คนพิการมีงานทำใกล้บ้าน

FIRST IN THE WORLD INSPIRING THE WORLD

มิติการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ให้คนพิการมีงานทำใกล้บ้าน พลิกชีวิตคนพิการ 7,000 คน ทั่วประเทศ ให้มีรายได้ เพื่อการพึ่งพาตนเอง

 

“ความพิการ คือ ความไม่สะดวก แต่ไม่ใช่ความไม่สบาย เราอย่าได้แบ่งแยกกันเลย ว่าใครเด่นใครด้อยกว่าใคร จิตใจของกวีและหางแมงป่อง มันก็ชูขึ้นจากแผ่นดินเดียวกันนั้นแหละ”

 

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่สโมสรกองทัพบก มีพิธีมอบเกียรติบัตรเชิดชูหน่วยงานที่สนับสนุนการจ้างงานคนพิการปี2562 โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกลไกการทำงานที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม พัฒนารูปแบบการจ้างงานคนพิการในชุมชนและองค์กรสาธารณะประโยชน์โดยใช้มาตรา 33 และ 35 ช่วยให้คนพิการสามารถทำงานใกล้บ้าน และยังเป็นวิธีที่ทำให้เงินก้อนเดิมที่บริษัทเคยนำส่งเข้ากองทุน เพราะจ้างคนพิการไม่ครบ สามารถส่งตรงไปยังคนพิการโดยตรง 100% เปลี่ยนไปสร้างโอกาสให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และถือเป็นการส่งเสริมภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทโดยตรงอีกด้วย ความคาดหวังสำคัญเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่ยั่งยืน คือการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้ขยายประโยชน์ไปยังคนพิการทั่วทุกพื้นที่ เพื่อร่วมสร้างจุดเปลี่ยนของสังคมไทย โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

 

 

6 องค์กรภาคธุรกิจ-บริษัทเอกชนชั้นนำกว่า 400 บริษัท ร่วมจ้างานคนพิการ 7,000 อัตราทั่วประเทศเป้าหมายขับเคลื่อนให้สถานประกอบการที่จ้างงานคนพิการตามกฎหมายได้ไม่ครบจำนวน100:1 ตามที่กฎหมายกำหนดและยังต้องมีการส่งเงินเข้าสมทบกองทุน (ตามมาตรา 34) เปลี่ยนมาสนับสนุนจ้างงานคนพิการเชิงสังคม หรือให้การสนับสนุนทุนประกอบอาชีพอิสระ(ตามมาตรา 33 และ 35) เพื่อให้คนพิการได้มีอาชีพและมีงานทำใกล้บ้าน สามารถพึ่งพาตนเองอย่างมีเกียรติศักดิ์ศรีทัดเทียมคนทั่วไป โดยคนพิการทุกคนต้องได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน โดยมุ่งหวังว่าการมีรายได้ที่สม่ำเสมอจากการเข้าถึงโอกาสงานและอาชีพนี้จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรงช่วยให้สุขภาวะในทุกมิติของคนพิการดีขึ้นและสังคมได้เห็นถึงศักยภาพโดยประจักษ์ของคนพิการในฐานะพลเมืองเข้มแข็ง (Active Citizen) ที่สามารถทำประโยชน์และเป็นกำลังสำคัญให้กับชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ได้

นางสาวอณิรา ธินนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ขอบคุณภาคีจากทุกภาคส่วนที่ได้ผนึกกำลังกันขับเคลื่อนงานด้านการสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ ภารกิจนี้เป็นภารกิจโดยตรงที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้ความสำคัญ จนทำให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สนับสนุนและส่งเสริม ให้หน่วยงานภาครัฐ จ้างคนพิการเข้าทำงานให้โอกาสคนพิการได้มีงานทำ เพื่อให้พวกเขามีรายได้และอาชีพ ที่ยั่งยืน และร่วมสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานคนพิการอย่างถูกต้อง และมีเป้าหมายเพื่อคนพิการอย่างแท้จริง

นายอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม จากการขับเคลื่อนระยะต้นเมื่อปลายปี 2557 มีสถานประกอบการ 20 แห่งเข้าร่วมสนับสนุนให้คนพิการ 229 คนได้รับการจ้างงานเชิงสังคมและเริ่มทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชนเป็นครั้งแรกในปี 2558 เกิดการขยายตัวต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันสถานประกอบการกว่า 500 แห่ง ได้ให้การสนับสนุนโอกาสงานและอาชีพแก่คนพิการกว่า 7,000 คนในปี 2562 นี้ รวมตลอดระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ได้ร่วมกันให้การสนับสนุนงานและอาชีพแก่คนพิการกว่า 20,000 โอกาส คิดเป็นรายได้และทุนสนับสนุนอาชีพส่งตรงถึงมือคนพิการรวมกว่า 2,000 ล้านบาท โดยมีภาคีร่วมขับเคลื่อนภารกิจจากทุกภาคส่วนและภาคีพื้นที่กว่า 2,000 หน่วย ร่วมดำเนินการ สิ่งที่มูลนิธิฯได้พบจากการทำงาน เราเห็นศักยภาพของคนพิการ เพราะเรื่องของคนพิการไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือแม้กระทั้งภาครัฐเองก็ไม่สามารถขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้โดยลำพัง โอกาสของคนพิการคือเรื่องของทุกคนที่ต้องช่วยกันสร้างให้เกิดขึ้น พิธีมอบเกียรติบัตรในวันนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความชื่นชมต่อองค์กรที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนพิการ และสถานประกอบการที่ได้ร่วมกันจ้างงานคนพิการเชิงสังคมและให้ทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพแก่คนพิการตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาโดยต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งเพื่อแสดงความขอบคุณต่อหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ติดตั้ง “ตู้ชื่นใจ” เพื่อเป็นฐานในการสร้างทุนสนับสนุนให้สามารถขับเคลื่อนภารกิจได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

คุณประยูร เจริญประวัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด บริษัทเอกชนที่เห็นว่าการช่วยเหลือองค์กรเพื่อสังคมเป็นเรื่องสำคัญ จากสิ่งที่มีอยู่ของบริษัท ถูกต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ตู้ชื่นใจ ทุกการซื้อช่วยสร้างชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ที่ ชื่นใจทั้งคนซื้อ และยังได้ช่วยเหลือคนพิการ 5% จากรายได้ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจอย่างยั่งยืน

คุณเอด้า  จิรไพศาลกุล กรรมการผู้จัดการ เทใจดอทคอม

เทใจ.คอม เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีๆ ร่วมกัน ด้วยการสนับสนุนโครงการต่างๆที่ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อเสนอให้สังคมเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนสำหรับโครงการดีๆ โดยนำเงินทุนจากผู้สนับสนุนไปทำโครงการให้เกิดขึ้น และเห็นผลสำเร็จร่วมกัน นอกจากสนับสนุนแล้ว ในเว็บไซต์ก็เปิดโอกาสให้ติดตามความคืบหน้า พูดคุยกับเจ้าของโครงการมีส่วนร่วมร่วมกันจนจบโครงการ วันนี้เทใจร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม มีเป้าหมายเงินสนับสนุนเงิน 3 ล้านบาท ช่วยสร้างโอกาสงานคนพิการ 3 พันคน สามารถสนับสนุนที่ เทใจ.คอม

ที่มา : Facebook มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ,สำนักข่าวสร้างสุข

ภาพประกอบ: Facebook มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม, สสส.

โครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์
ความรับผิดชอบต่อสังคม

โครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ เพื่อสังคม

โครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์          บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด (ILC) ร่วมจัดแสดงผลงาน “ประชารัฐร่วมใจ ILC หัวใจสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม” โครงการที่ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านป่าไม้ รวมถึง กิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลไม่ให้สูญพันธุ์เพื่อรักษาระบบนิเวศให้สมบูรณ์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อนโยบายประชารัฐของรัฐบาลที่มุ่งหวังจะยกระดับประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งคุณภาพอย่างแท้จริง

ประชารัฐร่วมใจ ILC หัวใจสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบต่อสังคม

ประชารัฐร่วมใจ ILC หัวใจสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม

ประชารัฐร่วมใจ

            “ประชารัฐร่วมใจ ILC หัวใจสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม”  กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูผืนป่า  ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 11 ปี  สานพลังความร่วมมือระหว่าง กรมป่าไม้ วัด ชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ป่าไม้ ป่าชายเลน รวมถึงส่งเสริมรายได้ในการเพาะพันธุ์กล้าไม้ให้กับชุมชนในพื้นที่ เช่น ผืนป่าภูหลง จ.ชัยภูมิ , วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม  จ.นครราชสีมา ,  คลองโคน จ.สมุทรสาคร , บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ  เป็นต้น   จำนวนต้นไม้ที่ปลูกทั้งสิ้น  92,000 ต้น  ลดการปล่อยก๊าซ CO2  68 ล้าน Kg.co2

สีสันแห่งชีวิตใหม่ผู้หญิงคิดบวก
ความรับผิดชอบต่อสังคม

สีสันแห่งชีวิตใหม่ผู้หญิงคิดบวก (CSR)

สีสันแห่งชีวิตใหม่ผู้หญิงคิดบวก

          บริษัท ILC  เป็นบริษัทผู้นำด้านการผลิตเครื่องสำอางชั้นนำแบบครบวงจร  มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการกำลังใจฯ ในพระดำริของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีกำลังใจ  มองตนเองและสังคมในด้านบวก

         โดยจัดกิจกรรม  “สีสันแห่งชีวิตใหม่…ผู้หญิงคิดบวก”  สอนเทคนิคการแต่งหน้า และเสริมบุคลิกภาพให้แก่ผู้ต้องขังหญิงเรือนจำในโครงการกำลังใจทั่วประเทศ พร้อมทั้งสอนหลักคิดบวกในการดำเนินชีวิต Positive Thinking ให้กับผู้ต้องขังหญิง ได้เป็นผู้หญิงยุคใหม่ที่คิดบวกเพราะสิ่งสำคัญความงดงามของผู้หญิงนั้น จะต้องสวยมาจากข้างในและภายนอก ถึงจะงามอย่างมีคุณค่าอย่างแท้จริง

มอบชีวิตใหม่ให้เต่า
ความรับผิดชอบต่อสังคม

ILC มอบชีวิตใหม่ให้เต่า…สู่สีสันท้องทะเลไทย

มอบชีวิตใหม่ให้เต่า

กิจกรรม ” ILC มอบชีวิตใหม่ให้เต่า สู่สีสันท้องทะเลไทย”  กิจกรรมการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สนับสนุนโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9  โดยร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กองทัพเรือสัตหีบ  ร่วมเป็นพ่อแม่บุญธรรมเพาะเลี้ยงลูกเต่าทะเลในระยะเวลาการเลี้ยงดู 1ปี ให้เติบโตแข็งแรงก่อนปล่อยคืนสู่ท้องทะเล   ดำเนินกิจกรรม  ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2555 จนถึงปัจจุบัน   รวมระยะเวลา 6 ปี  จำนวนเต่าที่ปล่อยทั้งสิ้น 266 ตัว

error: Content is protected !!